วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



โครงร่างงานวิจัยของนักศึกษา

งานวิจัยเรื่อง ศิลปะการออกแบบเครื่องเล่นเพื่อจินตนาการ ชุด เก้าอี้เพื่อจินตนาการ : มูลนิธิบ้านเฟื่องฟ้า.. 2555
ART DESIGN PROJECT OF ANIMAL MODEL SURFACE : BAAN FUENGFAH

ชื่อผู้ทำวิจัย นายวิเชษฐ์ ของครบ
รหัสประจำตัว 5311310790
สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์)
ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ .............................................
(.............................................)





คณบดีหรือรองคณบดีพิจารณาเห็นชอบ
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ .............................................
(.............................................)




ข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมประเภทนักศึกษา

ส่วน ก : ลักษณะทั่วไปของโครงการวิจัย
1. ปีการศึกษาที่เสนอขอรับทุน ...............................
2. ประเภทการวิจัย
( ) การวิจัยเชิงสำรวจ ( ) การวิจัยเชิงทดลอง ( ) การวิจัยและพัฒนา
3. งบประมาณที่เสนอขอทุน บาท
4. ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ปี

ส่วน ข : รายละเอียดการทำวิจัย
1. ชื่อโครงการวิจัย
ศิลปะการออกแบบเครื่องเล่นเพื่อจินตนาการ ชุด เก้าอี้เพื่อจินตนาการ : มูลนิธิบ้านเฟื่องฟ้า พ.. 2555
ART DESIGN PROJECT OF MIRACLE ANIMAL PLANET SHELF : BAAN FUENGFAH

2. ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ศิลปะเป็นภาษาสากลที่เชื่อมโยงการสื่อสาร การรับรู้ ความเข้าใจแก่คนทุกเพศทุกวัยได้อย่างน่าทึ่งและมหัศจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กพิเศษ หรือ "เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเพิ่มเติมจากปกติ และเป็นพิเศษทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ด้วยความน่าทึ่งและมหัศจรรย์ของงานศิลปะดังที่กล่าวข้างต้น พบว่าเด็กกลุ่มพิเศษสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างน่าทึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท นานมี จำกัด ได้ร่วมกับโรงเรียนเปรมฤดีศึกษา ที่เปิดโอกาสให้น้องๆ ที่เป็นเด็กพิเศษเรียนร่วมชั้นเรียนกับเพื่อนๆ เด็กปกติ จัดกิจกรรม "ศิลปะช่วยน้อง" ซึ่งเป็นการนำเอาศิลปะมาช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและจินตนาการให้แก่น้องๆ เด็กพิเศษ บริษัท นานมี จำกัดโดยคุณปรีญาณี สุพุทธิพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ได้ กล่าวว่า นานมีได้นำรูปภาพผลงานของเยาวชนไทยที่ส่งมาร่วมประกวดในโครงการฮอร์สอะวอร์ด ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นต้นแบบเพื่อจัดกิจกรรม "ศิลปะช่วยน้อง" โดยมีเป้าหมายจัดให้กลุ่มเด็กพิเศษได้มีโอกาสเรียนร่วมชั้นเรียนกับเด็กปกติ โดยใช้งานศิลปะเป็นสื่อในการเรียนรู้และร่วมกิจกรรมด้วยกัน ช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ปรากฏผลสัมฤทธิ์ได้อย่างน่าชื่นใจเป็นการฝึกให้เด็กปกติได้เรียนรู้การมีน้ำใจ การแบ่งปัน เป็นการเพิ่มทักษะและความชำนาญจากการที่ได้สอนเพื่อนกลุ่มเด็กพิเศษ เหมือนได้ทบทวนความรู้ของตนเอง แต่เกิดประโยชน์มหาศาลกับเด็กกลุ่มพิเศษ ซึ่งนอกจากได้รับจากการเรียนรู้ด้านศิลปะแล้ว พบว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการนำศิลปะมาเป็นสื่อในการรับรู้และเข้าใจพฤติกรรมเพื่อหาแนวทางในการบำบัดรักษาอันจะช่วยให้เด็กกลุ่มพิเศษอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขไม่เกิดปัญหาสังคม ไม่เป็นภาระต่อสังคมอันจะส่งผลต่อประเทศชาติ คุณครูปริยา สุตัณฑวิบูลย์ หรือคุณครูแคนดี้ เล่าว่า สังคมและครอบครัวต้องเข้าใจเด็กพิเศษ ว่าน้องๆ เหล่านี้อาจแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์หลายอย่างซึ่งเป็นเรื่องปกติด้วยสภาพของอาการเจ็บป่วย เช่น กรีดร้อง ก้าวร้าว หรือบางคนเงียบ นิ่งเฉย เก็บตัว ไม่กล้าแสดงออกเพราะคิดว่าตนเองไม่เหมือนคนอื่น พ่อแม่และครอบครัวจำเป็นต้องเข้าใจและช่วยปรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้ด้วยศิลปะ ซึ่งเป็นกิจกรรมง่ายๆ แต่ช่วยเยียวยาและกระตุ้นน้องๆกลุ่มนี้ได้มาก ทำให้พวกเขาปลดปล่อยพลังในตนเองและความก้าวร้าวต่างๆ ออกมา รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดที่สะสม และเปิดตัวคือรู้จักเข้าสังคม มีการพูดคุยกับเพื่อน คุณครู ครอบครัว และคนรอบข้าง "วิธีการง่ายๆ ในการสอนศิลปะให้แก่เด็กพิเศษ คือการสอนสิ่งรอบๆ ตัว พูดคุยถึงเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งของในชีวิตประจำวันโดยสร้างเป็นคำถามแบบปลายเปิด เพื่อให้เด็กมีการตอบสนอง เริ่มจากรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ และการลากเส้นต่างๆ เพื่อจะช่วยฝึกพัฒนาการเรื่องกล้ามเนื้อ บางรายใช้แรงกดของการลงน้ำหนักของสีในการระบาย เพราะมีความบกพร่องในการควบคุมกล้ามเนื้อมือ ชอบกดสีแรงๆ พยายามสอนเพื่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป" คุณครูแคนดี้ เล่า (2 ตุลาคม 2555 จาก http://www.komchadluek.net/detail/20120804/136812/ศิลปะช่วยสื่อเด็กพิเศษรู้เข้าใจ.html#.UGqY1r)
ศิลปะบําบัด (art therapy) คือ การบําบัดรักษาทางจิตเวชรูปแบบหนึ่ง ที่ประยุกต์ใช้กิจกรรมทาง ศิลปะเพื่อค้นหาข้อบกพร่อง
การประเมินผลการบําบัดรักษาด้วยศิลปะบําบัด เน้นที่ กระบวนการและกิจกรรมทางศิลปะ ไม่ได้เน้นที่ผลงานหรือคุณค่าทางศิลปะ (3 ตุลาคม 2555 จาก http://www.happyhomeclinic.com/academy/alt02-arttherapy_artandscience.pdf)
ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นการยืนยันได้ว่า ศิลปะเป็นภาษาสากลที่เชื่อมโยงการสื่อสาร การรับรู้ ความเข้าใจแก่คนทุกเพศทุกวัยได้อย่างน่าทึ่งและมหัศจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กพิเศษ หรือ "เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" สำหรับสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา (บ้านเฟื่องฟ้า) เป็นหน่วยงานของรัฐ รับผิดชอบเลี้ยงดูอุปการะเด็กอ่อนพิการทุกประเภททั้งชายและหญิงตั้งแต่แรกเกิดถึง 7 ปี จึงมีแนวคิดว่าการทำแบบจำลองพื้นผิวโดยออกแบบดีไซน์เป็นรูปสัตว์ที่มีสีสันสดใส เพื่อมุ่งเน้นการนำศิลปะมาเป็นสื่อให้กลุ่มเด็กพิเศษเกิดความจรรโลงใจและยังช่วยกระตุ้นให้เด็กกลุ่มพิเศษมีความพัฒนาการด้านสมาธิ ความจำ และการแก้ปัญหาในการแยกแยะรูปทรง ไม่ว่าจะเป็นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หรือจะเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ซึ่งนอกจากเด็กจะได้รับความสนุกสนานแล้ว ยังช่วยให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหาเบื้องต้นว่าต้องทำอย่างไรเพื่อเล่นให้สำเร็จ

3. วัตถุประสงค์การวิจัย
    1. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE) ของศิลปะการออกแบบเครื่องเล่นเพื่อจินตนาการชุด เก้าอี้เพื่อจินตนาการที่จัดทำเป็นงานวิจัย
3.2เพื่อศึกษากระบวนศิลปะการออกแบบเครื่องเล่นเพื่อจินตนาการ ชุด เก้าอี้เพื่อจินตนาการ
3.3 เพื่อใช้ศิลปะเป็นสื่อในการสอน ศึกษา ค้นคว้า การแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กพิเศษเพื่อการรักษาต่อเนื่องและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

4. สมมติฐานการวิจัย

5. นิยามศัพท์เฉพาะ
งานเพ้นท์ หมายถึง การสร้างสรรค์งานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวบนวัสดุ เช่น บนกระดาษ แผ่นไม้ หรือผนังโดยใช้วัสดุประเภทสี ดินสอ ปากกา ชอล์ค ถ่าน สีน้ำมัน สีน้ำและสีฝุ่น เขียนหรือระบายให้เป็นสื่อทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเข้าใจ โดยสร้างผลงานออกมาในรูปร่างหรือรูปแบบต่างๆ และทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกคล้อยตามหรือเกิดอารมณ์ตามผลงานที่สร้างสรรค์
เด็กพิเศษ (Special Child) มาจากคำเต็มว่าเด็กทีมีความต้องการพิเศษ (Child with Special Needs) หมายถึง เด็กกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆไปทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่งนายแพทย์ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) ได้แบ่งเด็กพิเศษเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความพกพร่อง และสุดท้ายเด็กยากจนและด้อยโอกาสแต่ในการศึกษาปัญหาการวิจัยโครงการวิจัย ศิลปะการออกแบบชั้นวางของเพื่อเด็กพิเศษ จะหมายถึงเด็กพิเศษที่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนทางสมองและปัญญาหรือที่รู้จักกันในนาม บ้านเฟื่องฟ้า ซึ่งรับผิดชอบเลี้ยงดูเด็กอ่อนพิการทุกประเภททั้งชาย และ หญิง อายุแรกเกิดถึง 7 ปี

6. ขอบเขตการวิจัย
6.1 แบบร่าง (IDEA SKETCH)
6.2 แบบที่ทำการสรุป (CONCEPT SKETCH)
6.3 แบบเพื่อนำไปผลิต (WORKING DRAWING หรือ ART WORK)
6.4 ต้นแบบเหมือนจริง (PROTOTYPE)
6.5 รายงานการวิจัยจำนวน 3 ฉบับ
6.6 ซีดีรายงานการวิจัยจำนวน 1 ชุด

7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 กระบวนการออกแบบศิลปะการออกแบบเครื่องเล่นเพื่อจินตนาการ ชุด เก้าอี้เพื่อจินตนาการ
7.2 พัฒนาการเรียนรู้เด็กพิเศษ โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อหรือเครื่องมือ

8. การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารอ้างอิง
ในการวิจัยเรื่องารออกแบบศิลปะการออกแบบแบบจำลองพื้นผิวเพื่อเด็กพิเศษ ชุด เก้าอี้เพื่อจินตนาการ ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ตรงตาม Concept ที่กำหนดไว้และเป็นงานที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎีของสีและการจัดองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบลวดลาย ผู้ศึกษาจึงใช้หลักการที่เกี่ยวข้องดังนี้
8.1 ทฤษฎี
8.1.1 การออกแบบลวดลาย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ การรู้จักคิด วางแผน ในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีอยู่แล้วนำมาปรับปรุง ดัดแปลงแก้ไข หรือสร้างสรรค์ใหม่โดยใช้วิธีการต่างๆ ทำให้เกิดความงาม เพื่อการประดิษฐ์ตกแต่งใหม่ให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย (เอมอร วิศุภกาญจน์,2542 : 2)
8.1.2 หลักการใช้สี
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นอย่างมากในด้านของการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก การที่เราจะกำหนดสีลงในลวดลาย ผู้ออกแบบควรรับรู้หลักการใช้สีเพื่อจะได้กำหนดสีได้ถูกต้อง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และประโยชน์ใช้สอยอีกด้วย (ดุษฎี สุนทรารชุน,2531 :107)
8.1.3 หลักการใช้สีประกอบร่วมแบบวรรณะ (TONE)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องก็คือ สีเราจะนำมาระบายนั้นส่วนใหญ่มักจะใช้สีประกอบร่วมแบบ แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ที่ทำการออกแบบที่จะมุ่งที่ทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึก ไปในทางร้อนหรือ เย็น หรืออีกทางหนึ่งก็คือทำให้เกิดการผสมผสานและกลมกลืนกัน การใช้สี ประกอบร่วม วรรณะจะไม่ใช้วรรณะใดวรรณะหนึ่งโดดเดี่ยว โดยกำหนดหลักการใช้สีไว้ ในอัตรา 50/50,60 /40,80/20 (คนึง จันทร์ศิริ:มปป.)
8.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
8.2.1 พุฑฒิพงษ์ เพชรรัตน์ : การศึกษาพฤติกรรมซ้ำๆ ของนักเรียนออทิสติกอายุ 7-10 ปีในโรงเรียนศึกษาพิเศษ จากการใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเคลื่อนไหว พบว่า หลังจากใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมกิจกรรมการเตลื่อนไหวนักเรียนออทิสติกทั้ง 3 คน มีพฤติกรรมซ้ำๆ ลดลงอยู่ในระดับพอใช้และระดับปานกลาง (2 ตุลาคม 2555 จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Spe_Ed/Puttipong_P.pdf)

9. ระเบียบวิธีวิจัย
9.1 ประชากร กลุ่มผู้บริโภค Generation จำนวน ........... คน
9.2 การสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มแบบง่าย ตามสูตรยามาเน จากนั้นจึงกำหนดกระบวนการตามกรอบการวิจัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
9.2.1 ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต (PRE-PRODUCTION)
- กำหนดประเด็นของปัญหา ตัวแปรต้น และตัวแปรตาม เพื่อ ตั้งสมมติฐาน
- จัดทำแบบร่าง (IDEA SKETCH) และทำการสรุปแบบตามสมมติฐาน (CONCEPT SKETCH)
9.2.2 ขั้นตอนการผลิต (PRODUCTION)
- แสดงกระบวนการผลิตต้นแบบเหมือนจริง
9.2.3 ขั้นตอนหลังการผลิต (POST PRODUCTION)
- ประเมินผลด้วยเครื่องมือที่สร้างไว้โดยมีความสัมพันธ์กับลักษณะของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการวิจัยในรูปแบบความเรียง
9.3 เครื่องมือในการวิเคราะห์มูล
- แบบสอบถามความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์
คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย / หน้าข้อความซึ่งตรงกับความเป็นจริงของท่าน โดยมีเครื่องหมายของ ระดับความคิดเห็นดังนี้
5 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด
4 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก
3 หมายถึง มีความเหมาะสมปานกลาง
2 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อย
1 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด
รายละเอียด
แบบที่ 1
5 4 3 2 1
แบบที่ 2
5 4 3 2 1
แบบที่ 3
5 4 3 2 1
1.การสื่อสาร ความหมาย ความเข้าใจ
1.1 เก้าอี้ชุดจินตนการนี้บอกความหมายได้ชัดเจน
1.2 ก้าอี้ชุดจินตนการนี้บอกความหมายตรงตามชื่อได้ชัดเจน
1.3 ก้าอี้ชุดจินตนการนี้สามารถสื่อความหมายสิดคล้องและง่ายต่อการจดจำ
2. วัตถุประสงค์ในการออกแบบ
2.1ก้าอี้ชุดจินตนการนี้แสดงเครื่องหมายของความเป็นไทย
2.2 ก้าอี้ชุดจินตนการนี้แสดงถึงบุคลิกของกลุ่มผู้ผลิตได้ชัดเจน
3. หลักศิลป์และความงาม
3.1 ก้าอี้ชุดจินตนการนี้ใช้คู่สีได้สวยงามและเหมาะสม
3.2 ส่วนประกอบต่าง ๆ ประสานกลมกลืนกัน
3.3 ผลิตภัณฑ์สวยงาม สะดุดตา
4. การรับรู้
4.1 ความสามารถในการมองเห็นระยะ ใกล้ - ไกล
4.2 ผลิตถัณฑ์สื่อสารชัดเจนไม่เบี่ยงเบนจากความจริง






















ข้อเสนอแนะ
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
- แบบสัมภาษณ์
1. ผลิตภัณฑ์แบบจำลองพื้นผิววางขายอย่างไร มีกี่ชินด
2. กลุ่มผู้บริโภคซื้อมาใช้อย่างไร มีความถี่มากน้อยเพียงไร
3. การขนย้ายผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร มีกี่วิธี
4. ท่านมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในแนวทางต่าง ๆ อย่างไร
9.4การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
- วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย (X) จากร้อยละ


วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนวคิดและแรงบันดานใจในการออกแบบ


แนวคิด   
ต้องการให้ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานให้เกิดประโยชน์และยังสามารถเกิดความสนุกและเกิดความคิดสร้างสรรค์สร้างแรงบันดานใจให้เด็กบ้านเฟืองฟ้าได้
แรงบันดาลใจ    ตัวต่อ เลโก้

LEGO ถือกำเนิดขึ้นจากชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่า Ole Kirk Christiansen เขาเป็นช่างไม้ผีมือระดับปรมาจารย์ อาศัยอยู่ในเมืองบิลลุนด์ (Billund) ประเทศเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1932 ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ทำให้ธุรกิจของเขาได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้เขาตัดสินใจที่จะผลิตสินค้าหลายชนิดมาจำหน่าย เช่น เครื่องใช้ภายในบ้าน พวกบันได (Stepladders) ที่รองสำหรับรีดผ้า (Ironing Boards) เก้าอี้นั่งเล่นตัวเล็กๆ (Stools) และของเล่นไม้ (Wooden Toys) อาจจะกล่าวได้ว่าหากไม่เกิดวิกฤตการทางเศรษฐกิจในครั้งนั้น Ole Kirk Christiansen คงจะมีอาชีพเป็นเพียงช่างไม้ และตัวต่
LEGO คงจะไม่ได้เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้


Ole Kirk Christiansen - ผู้ที่ให้กำเนิด LEGO
ใน ปี ค.ศ. 1934 เขาได้จัดให้มีการแข่งขันตั้งชื่อบริษัทขึ้น โดยรางวัลสำหรับผู้ชนะก็คือ ไวน์หนึ่งขวด! และผู้ที่ชนะก็คือตัวเขานั่นเอง เขาได้นำชื่อ LEGO มาใช้เป็นชื่อบริษัทและชื่อสินค้าที่ผลิตออกมาจำหน่าย ซึ่งคำว่า LEGO มาจากรากศัพท์ภาษาเดนมาร์กว่า "LEg GOdt" มีความหมายว่า Play Wellหรือแปลสนุกๆ ได้ว่า เล่นได้เล่นดีในขณะที่คำนี้มีความหมายในภาษาลาตินว่า I assembleหรือI put togetherแปลได้ว่า ประกอบหรือวางเข้าด้วยกัน



นอกจากนี้ Ole Kirk Christiansen ยังเป็นคนที่ใส่ใจและไม่เคยละเลยต่อคุณภาพของสินค้า เขาได้ติดป้ายคติพจน์สำหรับการทำงานไว้ในโรงงานว่า Only the best is good enough" หรือแปลได้ว่า ต้องดีที่สุดเท่านั้น ถึงจะดีพอ” (คติพจน์นี้ยังคงใช้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้) จะเห็นได้จากของเล่นไม้ทุกชิ้นที่เขาผลิตจะมีความประณีตและมีการเคลือบสีถึง 3 ชั้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาสำหรับในยุคสมัยนั้น ครั้งหนึ่ง ลูกชายของเขา Godtfred Kirk Christiansen ที่เริ่มทำงานในบริษัท LEGO ตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี ต้องการที่จะประหยัดเงินของบริษัท เลยทำการเคลือบสีของเล่นเพียงแค่ 2 ชั้นเท่านั้น Ole Kirk Christiansen ได้สั่งให้ลูกชายของเขากลับไปทำการเคลือบสีเพิ่ม และบรรจุใส่กล่องใหม่ โดยต้องทำ
คนเดียวเท่านั้น

Godtfred Kirk Christiansen -


ธุรกิจ ผลิตของเล่นเล็กๆ ของเขาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่กลับมีคนงานอยู่เพียงแค่ไม่กี่คนเท่านั้น อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1942 ได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงอย่างรุนแรง ทำให้โรงงานของเขาถูกเผาราบเป็นหน้ากอง แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนไม่ยอมแพ้ เขาได้เริ่มสร้างโรงงานขึ้นมาใหม่หลังจากนั้นไม่นาน

ในปี ค.ศ. 1947 LEGO เป็นบริษัทแรกในเดนมาร์กที่ซื้อเครื่องฉีดพลาสติกมาใช้ในการผลิตของเล่น หลังจากนั้น 2 ปี (ปี ค.ศ. 1949) LEGO ได้ผลิตของเล่นพลาสติกและของเล่นไม้ออกมาถึงเกือบ 200 ชนิด รวมถึงได้มีการผลิตของเล่นที่ถือว่าเป็นต้นแบบของตัวต่อ LEGO ขึ้น ชื่อว่า Automatic Binding Bricksแต่จำหน่ายเฉพาะในเดนมาร์กเท่านั้น

Automatic Binding Bricks -
ต้นแบบของตัวต่อเลโก้ในปัจจุบัน

ใน ปี ค.ศ. 1950 ลูกชายของเขา Godtfred Kirk Christiansen ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Junior Vice President ในขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น หนึ่งปีหลังจากนั้น (ปี ค.ศ. 1951) ของเล่นพลาสติกมีสัดส่วนการผลิตถึงครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตทั้งหมด ถือเป็นการส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตของเล่นไม้ไปสู่การผลิตของเล่น พลาสติกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

ในปี ค.ศ. 1953 ได้มีการเปลี่ยนชื่อ Automatic Binding Bricksไปเป็น "LEGO Mursten" หรือ "LEGO Bricks" (ตัวต่อเลโก้) อย่างที่เราคุ้นเคยกันทุกวันนี้ และในวันที่ 1 พฤษภาคม 1954 ชื่อ LEGO ก็ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในเดนมาร์ก

ในปี ค.ศ. 1955 LEGO ได้จำหน่ายของเล่นชื่อ "LEGO System of Play" มีทั้งหมด 28 ชุด กับรถแบบต่างๆ อีก 8 คัน ในชุดจะประกอบด้วย อาคาร บ้าน ต้นไม้ รถยนต์ ป้ายสัญลักษณ์จราจรและอื่นๆ ของเล่นชุดนี้ถือเป็นการปฏิวัติวงการของเล่นเลยทีเดียวเพราะผู้เล่นสามารถ สร้างสรรค์การเล่นได้ตามจินตนาการ โดยไม่ถูกจำกัดให้ต้องทำตามคู่มือเท่านั้น

LEGO System of Play

ใน ปี ค.ศ. 1957 ได้มีการคิดค้นระบบการเชื่อมต่อด้วยปุ่มและท่อสำหรับตัวต่อเลโก้ (The Stud-and-Tube Coupling System) ลองนึกถึงภาพของตัวต่อเลโก้ที่จะมีปุ่มอยู่ด้านบน (Stud) และมีทรงกระบอกคล้ายท่ออยู่ด้านล่าง (Tube) และสามารถนำแต่ละอันมาต่อเข้าด้วยกันได้ (Coupling) หลังจากนั้นอีก 1 ปี (ปี ค.ศ. 1958) ตัวต่อเลโก้อย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ก็ได้รับการจดสิทธิบัตรและนำออกมา จำหน่ายตามท้องตลาด อย่างไรก็ตามในปีเดียวกันนี้เอง ผู้ก่อตั้งและสร้างตำนาน LEGO Ole Kirk Christiansen ได้เสียชีวิตลง ทำให้ลูกชาย Godtfred Kirk Christiansen ต้องขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

สิทธิบัตรของ LEGO

ใน ปี ค.ศ. 1960 โกดังเก็บของเล่นไม้เกิดไฟไหม้เสียหายอย่างหนัก กอปรกับการที่ของเล่นพลาสติกได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วไปทั่ว โลก ทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะหยุดการผลิตของเล่นไม้และมุ่งเน้นแต่ของเล่น พลาสติกแทน

ในปี ค.ศ. 1963 บริษัท LEGO ได้นำวัสดุชนิดใหม่ที่ดีกว่าคือ ABS (Acrylnitrile Butadiene Styrene) มาใช้แทนวัสดุชนิดเดิมคือ Cellulose Acetate ในการผลิตตัวต่อเลโก้ วัสดุใหม่นี้มีความคงทนมากกว่า มีสีสันมากกว่า ผลิตได้ไวกว่า และทำให้การผลิตมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้นถึง 0.005 มม.

ในปี ค.ศ. 1967 LEGO ได้ออกแบรนด์ใหม่ชื่อว่า The DUPLO® brick เป็นตัวต่อเลโก้ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 8 เท่า (กว้างกว่า 2 เท่า ยาวกว่า 2 เท่า และสูงกว่า 2 เท่า) สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเด็กกลืนตัวต่อเลโก้ และในปีถัดมา (ปี ค.ศ. 1968) ได้มีการเปิด LEGOLAND® Billund ขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายน 1968

เปรียบเทียบขนาด LEGO Brick ปกติกับ Duplo Brick

ใน ปี ค.ศ. 1973 ได้มีการนำเอาโลโก้ใหม่ของ LEGO มาใช้แทนทุกๆ โลโก้เดิมของ LEGO โดยสินค้าทุกประเภทของบริษัท LEGO จะใช้โลโก้อันใหม่นี้อันเดียวเพื่อความเป็นเอกภาพ


โลโก้ของ LEGO ที่เราคุ้นเคยกันและใช้มาจนถึงปัจจุบัน